อยากสร้าง Product และ Service ให้ดีให้รอดต้องทำ MVP (Minimum Viable Product) 

-

การทำสินค้าและบริการนั้น ไม่ว่าจะทำ SME, Startup หรือ Corporate ที่จะพัฒนา Product/Service ใหม่ ๆ  ต่างมีหลักการที่คล้ายกัน โดยการพัฒนาสินค้าและบริการนั้นคือหัวใจของธุรกิจในช่วงแรก ๆ เลย ว่าธุรกิจนั้นมีโอกาสและทิศทางที่จะไปได้หรือไม่ได้ในอนาคต การเข้าใจว่าจะพัฒนาธุรกิจที่เป็นช่วงทดลองทำสินค้าและบริการ ว่าเหมาะกับลูกค้าอย่างไร หรือเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญ 

หลาย ๆ ครั้ง SME และ Startup รวมทั้งบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Corporate หลาย ๆ ที่ต่างล้มเหลวในการพัฒนาสินค้าขึ้นมา โดยตามสถิตินั้นล้มเหลวกว่า 90% เพราะในการพัฒนาสินค้าและบริการนั้น บริษัทและองค์กรเหล่านี้ทำความผิดพลาด เพราะคิดว่าและทึกทักเอาเองว่า กลุ่มเป้าหมายที่จะเป็นลูกค้านั้นให้ความสำคัญอย่างมาก กับปัญหาที่องค์กรและบริษัทมองเห็นแล้วสร้าง Solution ขึ้นมา ทั้งนี้ไม่เฉพาะการทำสินค้าและบริการที่ออกไปสู่กลุ่มลูกค้าเท่านั้นที่ล้มเหลว แม้กระทั่งการสร้างผลิตภัณฑ์ใช้ในองค์กรเองก็ล้มเหลวได้ ถ้าไม่เข้าใจว่าจะเริ่มอย่างไร แล้วทำการใหญ่อย่างทันที 

ในยุคนี้การทำผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ ไม่ใช่คิดแล้วทำใหญ่แล้วเริ่มได้ทันที แต่เป็นการทำสิ่งที่เรียกว่า minimum viable product (MVP) ออกมา เพื่อเทส ว่าไอเดีย ที่จะทำนั้นมันใช้ได้จริงไหม มันมีคนใช้จริงไหม และมีตลาดหรือกลุ่มที่อยากได้จริงไหม ใหญ่พอไหมที่จะทุ่มงบประมาณในการทำต่อ ซึ่งด้วยวิธีนี้จะทำให้ ผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ ที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ กลายเป็นบริษัทที่มีความยั่งยืนต่อไป หลาย ๆ บริษัทที่เติบโตในทุกวันนี้ ใช้การทำ MVP Concept เพื่อใช้เก็บความคิดเห็นและ insight ของผู้ใช้ หรือการใช้งานจริง เพื่อมาปรับปรุงแนวความคิดผลิตภัณฑ์ หรือธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น 

ภาพจาก https://clevertap.com/blog/minimum-viable-product/

Minimum Viable Product (MVP) เป็นการสร้าง ผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ ในรูปแบบความต้องการใช้งานที่จำเป็นที่สุดขึ้นมาก่อน หรือ Core Components ของผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ นั้น ๆ ที่พร้อมจะทำงานได้ขึ้นมา เรียกง่าย ๆ ว่า มีฟีเจอร์ที่จำกัด (Minimum) แต่พอที่จะทำงานที่ต้องการในเป้าหมายนั้นขึ้นมา (Viable) ซึ่งพื้นฐานของ MVP นั้นไม่จำเป็นต้องมีอะไรซับซ้อน แต่ต้องตอบโจทย์สำคัญทางธุรกิจได้โดย 

1. ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย

2. แก้ปัญหาที่ต้องการได้ 

3. ทำให้ทีมพัฒนาเข้าใจได้ว่า จะต้องพัฒนาอะไรต่อ 

4. ลดความเสี่ยงที่จะทำฟีเจอร์ที่ไม่ต้องการออก ลดความเสี่ยงในการเสียเงินและเสียเวลา 

ทั้งนี้ MVP ทำออกมานั้นเพื่อทดสอบว่า Core Feature ที่จะทำนั้นมาถูกทางรึยัง และได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และรู้จุดดีและจุดอ่อน ในการพัฒนาปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการนั้น ๆ ต่อไป ซึ่งถ้าไอเดียหรือแนวคิดของผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ นั้นได้รับการตอบรับที่ดี มีแนวโน้มที่ดี มีศักยภาพ ก็สามารถพัฒนาต่อเนื่องขึ้นให้ผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ นั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้นมาได้ 

ภาพจาก Inflective

ตัวอย่างเช่น Netflix แนวความคิดของ Netflix คือการสร้างระบบที่เช่า content ขึ้นมา แต่แทนที่จะเล่นใหญ่ โดยการไปซื้อลิขสิทธิ์ Content ทำ Streaming Service ต่าง ๆ เป็นการลงทุนในระดับหลายพันล้านดอลลาร์ ที่ไม่รู้ว่าจะได้ผลไหมในตอนนั้น หรือจะเสียเวลาทำไปไหม ก็ใช้ในแนวคิด MVP ในการทดลองไอเดียก่อนโดยการระบบการเช่ายืม CD Content ต่าง ๆ แทน โดยการให้มาเลือกผ่านหน้าเว็บไซต์ และ Netflix จะจัดส่ง CD Content ต่าง ๆ ให้นั้นไปยังไปรษณีย์ จะเห็นได้ว่า Core Feature ในการเลือก Content ของ Netflix เกิดขึ้นที่ทดสอบการใช้งานได้เลย พอเมื่อระบบพร้อม Ecosystem พร้อมก็สามารถเปลี่ยนจากการส่ง CD Content มาเป็น Streaming Service ได้เลย ทำให้การสร้าง MVP นี้ไม่หลงทาง และไม่ต้องมาคาดหวังสูงในการทำงานอีกด้วย 

การทำ MVP นั้นต้องเข้าใจก่อนว่า MVP ไม่ใช่วิธีลดงบประมาณ ในการพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการลง แต่เป็นการใช้งบประมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ MVP ก็ยังไม่ใช่ minimum marketable product (MMP) ที่เป็นสินค้าในเวอร์ชั่นแรกที่จะออกสู่ตลาด แต่เป็นการเทสแนวความคิดมากกว่าออกมา และสุดท้าย MVP ไม่ใช่ Proof of concept หรือ Rough Idea เพราะ POC นั้นทำขึ้นมาเพื่อทดสอบว่าแนวความคิดนี้พัฒนาในแนวทางเทคโนโลยีได้จริงไหม แต่ MVP ถูกพัฒนามาเพื่อว่า มีลูกค้าใช้จริงไหม และจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร 

Share this article

Recent posts

Popular categories

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Recent comments