สร้างแบรนด์แล้วอย่าลืมไปจด Trademark ป้องกันการละเมิดไว้

-

ในบทความนี้จะมาแชร์ประสบการณ์การไปขอจด Trademark หรือเครื่องหมายการค้าของแบรนด์ตัวเองไว้ เมื่อเราสร้างแบรนด์มาถึงจุดหนึ่ง และเริ่มเป็นที่รู้จัก มีความนิยม โดยเฉพาะมีการส่งออกไปต่างประเทศขายตามที่ต่าง ๆ ก็มีโอกาสที่ง่ายอย่างมากที่แบรนด์นั้นจะถูกการลอกเลียนแบบหรือมีการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้าย ๆ กันเพื่อล่อลวงผู้บริโภคให้เข้าใจผิดไปซื้อแบรนด์ที่ใกล้เคียงกัน การจดเครื่องหมายการค้านี้จะสามารถช่วยป้องกันการละเมิดการเอา Logo ชื่อแบรนด์ไปใช้ในทางที่ผิด หรือเสียหายต่อแบรนด์ได้ขึ้นมา 

การจดเครื่องหมายการค้า เป็นกระบวนการที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ได้ยุ่งยากอะไรในปัจจุบัน โดยสามารถไปจดได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในบทความนี้จะพาไปจดที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ หากท่านใดอยากจดไม่สะดวกมาที่ สนามบินน้ำ ก็ลองดูพาณิชย์จังหวัดของตัวเองว่าจดได้ที่ไหน 

แล้วทำไมเราต้องจดเครื่องหมายการค้าเอาไว้ ทำแบรนด์อย่างเดียวไม่ต้องกลัวใครมาเอาเครื่องหมายการค้าไปใช้ไม่ได้เหรอ ในคำตอบนั้นต้องตอบตามประเด็นก่อนว่า

1. แบรนด์เป็นสิ่งมีมูลค่า และการสร้างตัวตนของแบรนด์ขึ้นมาก็มีมูลค่าตามการเติบโต ดังนั้นการป้องกัน รักษามูลค่านั้นไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นไม่ให้ใครก็ได้เอาไปแสวงหาผลประโยชน์จากแบรนด์เรา เมื่อจดแล้วยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และมูลค่าให้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีสิทธิที่จะทำการขายผลประโยชน์ในการใช้แบรนด์กับคนอื่น ๆ ได้ต่อมา 

2. เมื่อแบรนด์ถูกสร้างมาแล้ว ยิ่งแบรนดืมีชื่อเสียงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีคนที่คิดไม่ดีในการแสวงหาผลประโยชน์จากแบรนด์เราโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นการจดเครื่องหมายการค้าเอาไว้ จะเป็นการป้องกันการปลอมแปลง การลอกเลียนแบบหรือการทำให้สับสนโดยคนที่ไม่หวังดีต่อแบรนด์เรา 

ที่นี้มาดูขั้นตอนในการจดเครื่องหมายการค้าก่อน โดยขั้นแรก ลองเข้าไปตรวจสอบด้วยก่อนว่าเกณฑ์ในการจดเครื่องหมายการค้าที่จดได้หรือไม่ได้ นั้นเป็นอย่างไร โดยตามที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะมีคือ 

1. เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะมุ่งหมายที่จะแสดงถึงความแตกต่างระหว่างสินค้า/บริการที่ใช้เครื่องหมายนี้กับสินค้า/บริการของบุคคลอื่น ไม่ใช่เครื่องหมายที่บ่งบอกถึงลักษณะ หรือ คุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยตรง แปลคือ เครื่องหมายที่จดต้องไม่สื่อถึงชื่อสินค้าและบริการของตัวเอง 

2. เป็นเครื่องหมายที่ไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น ชื่อที่ไปพ้องเสียงกับราชวงศ์ หรือเป็นตราราชวงศ์ ตราแผ่นดิน หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม หรือ เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายที่คนเห็นแล้วรู้จักกันอยู่แล้ว 

3. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว 

ยังมีเกณฑ์อื่น ๆ ที่จะจดได้และจดไม่ได้ คือ 

1. ถ้า Logo หรือเครื่องหมายการค้านั้นเป็นแค่ font นายทะเบียนจะไม่รับจด เพราะ font ใคร ๆ ก็ใช้ได้ ต้องมีการประดิษฐ์ Font หรือสร้างเป็น Logo มา

2. ถ้าเป็นชื่อที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือ Generic Name ก็ไม่สามารถจดได้เช่นกัน ต้องมีการสร้างชื่อขึ้นมา หรือถ้าจะใช้ก็ต้องสละสิทธิ์การคุ้มครอง 

เราสามารถเข้าไปเช็คในเว็บไซต์เพื่อตรวจเบื้องต้นได้ที่ https://tmonline.ipthailand.go.th/DipInternetWeb/trw/01/trw00q001/index.jsf เมื่อตรวจแล้วก็ให้เตรียมเอกสาร ที่มีคือ 

1. กรณีเป็นเครื่องหมายคำ ข้อความ ตัวอักษร ตัวเลข กลุ่มของสี หรือรูปภาพ ให้จัดเตรียมรูปภาพเครื่องหมายที่เห็นรายละเอียดเครื่องหมายอย่างชัดเจน โดยขนาดของภาพ ไม่ควรเกิน 5 X 5 เซนติเมตร หากเกินจะมีค่าธรรมเนียมในส่วนที่เกิน ในอัตรา เซนติเมตรละ 200 บาท ต่อด้าน

กรณีเป็นเครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ ให้จัดเตรียมรูปภาพที่แสดงถึงด้านกว้าง ด้านยาว ด้านลึกของเครื่องหมายอย่างชัดเจน โดยอาจแสดงมาในรูปเดียวหรือมากกว่านั้นก็ได้ทั้งนี้รวมแล้วไม่เกิน 6 รูป

  • กรณีเป็นเครื่องหมายกลุ่มของสีให้ระบุคำบรรยายลักษณะของกลุ่มของสีลงในแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนด้วย
  • กรณีเป็นเครื่องหมายเสียง จัดเตรียมไฟล์เสียงอิเล็กทรอนิกส์ในสกุล wav,mp3 พร้อมบรรยายลักษณะของเครื่องหมายเสียงในแบบคำขอจดทะเบียนให้ชัดเจน
  • กรณีเครื่องหมายประกอบด้วยคำในภาษาต่างประเทศให้ระบุคำอ่านและคำแปลเป็นภาษาไทยด้วย และในกรณีเป็นภาษาจีนให้ระบุคำอ่านเป็นภาษาไทยทั้งสำเนียงจีนกลางและจีนแต้จิ๋วพร้อมคำแปลภาษาไทย

2. บัตรประจำตัวประชาชน(กรณีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา) /สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล(กรณีเจ้าของเป็นนิติบุคคล)  ในกรณีมีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ต้องแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประตัวประชาชน/สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของตัวแทนมาพร้อมคำขอด้วย

เมื่อเอกสารพร้อม ก็ไปที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 1 ไปขอคิวในการขอคำปรึกาาเพื่อตรวจเช็คการของความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าอีกรอบ เจ้าหน้าที่จะส่งขึ้นไปให้คุยกับทางแผนกให้คำปรึกษาในการจดการคุ้มครองเครื่องหมายทางการค้า ในชั้น 2 

เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำอีกครั้งว่า อะไรที่จดได้ หรือไม่ได้ และมีการตรวจเช็คอีกครั้งโดยในครั้งนี้ จะเป็นการตรวจเช็คว่าเครื่องหมายการค้าที่จด มีข้อต้องห้ามอะไรไหม และจดได้ไหม โดยในการเลือกจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น จะต้องระบุว่า จำพวกและรายการสินค้าและบริการที่จะนำไปใช้กับเครื่องหมายที่จะยื่นขอจดทะเบียนให้ชัดเจนและถูกต้องตามจำพวกสินค้าและบริการสากล (NICE Classification)  เช่น เครื่องหอม แยกเป็นหนึ่งประเภท และถุงหอมอีกหนึ่งประเภท ซึ่วงจะเสียค่าใช้จ่ายประเภทละ 1000 บาท ทั้งนี้สามารถดูตัวอย่างข้อมูลจำพวกและรายการสินค้า/บริการได้ที่ tmsearch.ipthailand.go.th 

หลังจากนี้เจ้านี้จะช่วยในการเตรียมเอกสาร โดยการตัด Logo เข้าไปในแบบฟอร์ม และแนะนำให้ไปใช้บริการการพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารที่ชั้น 1 เมื่อลงไป ก็ไปขอคิวการใช้บริการการพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ จะมีแบบฟอร์มการขอสิทธิ์เครื่องหมายการค้าที่เจ้าหน้าที่จะมีบริการพิมพ์เอกสารคำร้องให้ตามที่ เจ้าหน้าที่แนะนำมา โดยมีค่าบริการในการพิมพ์ 

เมื่อพิมพ์เสร็จ ก็มาเข้าช่องในการยื่นเอกสารในการขอจดเครื่องหมายการค้า เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารเรียบร้อย ก็จะได้เอกสารให้ไปจ่ายเงิน ก็ไปจ่ายเงินตามจำนวนหมวดที่เราจด ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนในการขอ 

โดยทั่วไปนายทะเบียนจะใช้เวลาพิจารณา 6 เดือน – 1 ปี ว่าการจดเครื่องหมายทางการค้านั้นจะได้หรือไม่ได้ ดังนั้นใครที่มีแบรนด์ที่จะขยายอยู่ ให้รีบมาจดก่อนทำการขยายตลาดก็ดี และเมื่อได้การคุ้มครองเครื่องหมายการค้ามาแล้วให้มาทำเรื่องในการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าตามต่างประเทศเอง โดยประเทศไทยมีสนธิสัญญา Madrid Protocol ที่เมื่อเราเข้าไปทำเรื่องแล้วจะคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของเราในหลาย ๆ ประเทศทันที (โดยเฉพาะจีน) จะเห็นได้ว่าการจดเครื่องหมายการค้านั้นง่ายและคุ้มค่าต่อการปกป้องแบรนด์ของเราด้วย หากใครยังไม่ได้รีบจด แนะนำให้มาจดเลยครับ 

Share this article

Recent posts

Popular categories

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Recent comments