ทำไมการทำ Digital Transformation ถึงล้มเหลว

Share This Post

Digital Transformation เป็นคำที่ติดปากอย่างมากในองค์กรยุคนี้ หรือแม้แต่ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่อยากจะผันตัวเองจากธุรกิจที่มีการทำกิจกรรมแบบเดิม ๆ หันมาใช้เทคโนโลยี และขับเคลื่อนด้วยความเร็วขึ้น เพื่อให้ปรับเปลี่ยนให้ได้ทันยุคทันสมัยในตอนนี้ แต่หลาย ๆ องค์กรนั้นกลับพบกับความล้มเหลวในการทำ Digital Transformation อย่างมาก เพราะคิดว่าแค่เอาเทคโนโลยีมาใช้ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานจากวิธีแบบเดิม ๆ มาเป็นแบบมีการใช้เทคโนโลยีประกอบได้เลย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก 

จากประสบการณ์ทำงานจริง และการให้คำแนะนำหลาย ๆ องค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มีความเก่าแก่นั้น จะพบเจอปัญหาที่คล้าย ๆ กัน ว่าทำไมถึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรได้ และจากความยิ่งใหญ่ขององค์กร กลับกลายเป็นว่าองค์กรกลับมีพัฒนาการที่แย่ลง หรือถดถอยลง โดยเฉพาะในช่วง  Covid-19 ที่ผ่านมาจะพบเห็นได้อย่างทันทีว่า องค์กรที่ปรับตัวสำเร็จมักจะสามารถอยู่รอดได้หรือกลับมาเติบโตได้ทันทีหลังสถานการณ์ดีขึ้น ส่วนองค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวได้ มักจะมีการถดถอยหรือไม่มีการฟื้นมาอีกเลยหลังวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งในบทความนี้จะพาไปเข้าใจสาเหตุว่าทำไมองค์กรถึงทำ Digital Transformation ล้มเหลว ซึ่งมาจากประสบการณืจริงของผมเอง 

  1. ปัญหาจากคนในองค์กรเอง ปัญหานี้คือปัญหาหลัก ๆ เลยในการที่องค์กรนั้นไม่สามารถทำ Digital Transformation ได้สำเร็จขึ้นมา เพราะหัวใจสำคัญของ Digital Transformation คือการที่คนนั้นยอมรับในการเอาเทคโนโลยีมาช่วย และมองว่าเทคโนโลยีคืออนาคต เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานขึ้นมา หลาย ๆ ครั้งเมื่อทำ Digital Transformation ไป กลับกลายเป็นว่าเกิดการต่อต้านจากคนในองค์กร ไม่ให้ความร่วมมือ จากประสบการณ์ที่เคยผ่านมาจะพบว่า คนกลุ่มที่ต่อต้านนี้มักจะเป็นกลุ่มคนที่คิดแต่เอาตัวเองสบายไว้ก่อน ไม่อยากลองปรับเปลี่ยนอะไร และคิดว่าการปรับเปลี่ยนนั้นไม่ได้ช่วยให้งานสบายขึ้น แต่เป็นภาระมากขึ้น ซึ่งทำให้การทำ Digital Transformation นั้นจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้ายังมีคนกลุ่มนี้อยู่ในองค์กร หรือ เป็นแกนนำในองค์กรที่ทำให้คนอื่นมาต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 
  2. ไม่ยอมหัดใช้เทคโนโลยี อีกปัญหาหนึ่งที่เจออย่างมากในการทำ Digital Transformation คือการที่คนในองค์กร หรือองค์กรเอง ไม่ยอมหัดใช้เทคโนโลยี หรือไม่ใช้เทคโนโลยีที่ให้มา แม้ว่าจะมีการลงทุนซื้อหรือหาเทคโนโลยีนั้นมาให้ใช้แล้วก็ตาม โดยคิดว่าการใช้เทคโนโลยีนั้นไม่ใช่หน้าที่ตัวเอง หรือไม่ใช่เรื่องของตัวเองที่จะมาเรียนรู้ แต่เป็นหน้าที่ของแผนกที่มีความรับปิดชอบต้องมาเรียนรู้และทำให้ตัวเองขึ้นมา จากประสบการณ์ที่เคยเจอมา คือการที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี หรือ ดิจิทัล แต่คนที่คิดงานหรือต้องออกไอเดีย กลับไม่เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีต่าง ๆ หรือไม่เข้าใจว่า platform ดิจิทัลนั้นทำงานอย่างไร ซึ่งการไม่เรียนรู้ หรือหัดใช้เองนี้กลับเป็นจุดอ่อนในการเปลี่ยนแปลงอย่างทันที เพราะแทนที่จะสามารถใช้จุดแข็งของเทคโนโลยีมาต่อยอดงานเองได้ แต่กลับกลายเป็นว่าไม่มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี ไม่เข้าใจข้อจำกัดของเทคโนโลยีนั้น ๆ จนทำให้ไม่ได้งานที่ดีออกมา 
  3. Negative Comment อันหนึ่งจากประสบการณ์ตรงในการทำ Digital Transformation ออกมา คือการที่เมื่อพัฒนาเครื่องมือ หรือเอาเทคโนโลยีมาใช้ แทนที่จะได้คำแนะนำติดชม เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีในการใช้งานออกมา กลับกลายเป็นว่า ได้คำที่เป็น Negative Comment มาแทน เช่น เครื่องมือห่วย เครื่องมือใช้งานไม่ได้จริง ผลที่ได้กลับกลายเป็นว่าไม่ได้พัฒนาเครื่องมือนั้นต่อ หรือเครื่องมือนั้น ๆ ไม่ได้ถูกต่อยอดการทำงานขึ้นมา และแย่ไปกว่านั้นคือการถดถอยกลับไปทำงานแบบเดิม ๆ ด้วยวิธีการคิดแบบเดิม ๆ 
  4. การปรับเปลี่ยนที่ช้าเกินไป จากประสบการณ์ส่วนตัวอีกอันที่ทำให้ Digital Transformation ไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นช้าไป คือการที่มีการปรับเปลี่ยนช้าไปในองค์กร โดยการที่องค์กรจะเคลื่อนตัวหรือตัดสินใจที่จะทำ Digital Transformation เกิดขึ้นเมื่อสายไปแล้ว โดยถูกคู่แข่ง หรือคนอื่นนำหน้าไปหมดแล้ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ฝ่ายบริหารขององค์กร ไม่จริงจัง หรือไม่เข้าใจในเทคโนโลยี จนไม่สามารถผลักดันการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์กรได้ขึ้นมา การเปลี่ยนแปลงองค์กรนั้นต้องการความจริงจังและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในการปรับเปลี่ยนองค์กรขึ้นมา 
  5. ชอบทำอะไรแบบเดิม ๆ หรือใช้ Feeling  ตัดสินกันเอง หลาย ๆ ครั้งดูเหมือนการทำ Digital Transformation จะสำเร็จ มีการเอาเทคโนโลยีมาใช้ มีการยอมรับ แต่สุดท้ายแล้วกลับกลายเป็นว่าการทำงานนั้นล้มเหลว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เลยคือการที่ เมื่อเอาเทคโนโลยีมาใช้ กลับกลายเป็นว่า ใช้ความรู้สึกตัดสินงานแทน หรือใช้วิธีการทำงานแบบเดิม ๆ แทนที่จะใช้ข้อมูลหรือเทคโนโลยีที่ให้มา มาใช้เพื่อช่วยงาน ทำให้งานแทนที่จะถูกลองใช้เทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของงาน ทำให้สุดท้ายก็วนลูปกลับไปทำงานแบบเดิมและเทคโนโลยีกลายเป็นแค่ Gimmick ของการทำงานเอง 

นี้เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งจากประสบการณ์ตรงของผมเองในการที่ทำ Digital Transformation มา หรือช่วยองค์กรให้เกิดการทำ Digital Transformation ใครที่มีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ Digital Transformation ก็ลองมาแชร์กันได้นะครับ 

spot_img

Related Posts

เมื่อแบงค์ใช้จิตวิทยาเพื่อสร้างให้คนออมเงินเพิ่มมากขึ้น

เป้าหมายของธนาคารในหลาย ๆ ครั้งคือการเพิ่มลูกค้าให้มาออมเงินกับธนาคารมากขึ้น ซึ่งด้วยการใช้จิตวิทยาแบบการกระตุ้นจิตใต้สำนึกนี้สามารถสร้างผลได้อย่างดีเลยทีเดียว ธนาคารหรือภาคการเงิน รวมทั้งรัฐนั้นต่างมีความต้องการอย่างหนึ่งที่อยากสร้างให้กลุ่มเป้าหมายของตัวเองนั้นมีการประหยัดเงิน หรือสามารถอดออมได้ขึ้นมา เพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณตัวเอง หรือในภาคธนาคารนั้นก็ต้องการเงินออมเหล่านั้นเข้ามาเป็นเงินฝากของตัวเอง เพื่อให้ตัวเองมีเงินที่จะไปปล่อยสินเชื่อต่าง...

การตลาด Luxury ของ Rolex ที่ทำให้แบรนด์เป็นหนึ่งทุกวันนี้

โรเล็กซ์นั้น เป็นตัวอย่างที่ดีว่า ก่อนที่จะลงทุนกับการตลาด หรือการทำโปรโมทต่าง ๆ สิ่งที่ต้องทำได้ดีก่อน คือสินค้าตัวเอง

อย่าเชื่อคนที่บอกเวลาที่เหมาะสมในการโพสคือเวลาใด จนกว่าจะได้ลองสิ่งนี้

เวลาที่คนบอกว่าเวลาที่เหมาะสมของแบรนด์ในการโพสคืออะไร แท้จริงแล้วอาจจะไม่ได้เหมาะกับแบรนด์คุณ

มาคำนวนวิธีตั้งราคาขาย เพื่อให้ได้กำไร ไม่ขาดทุนเข้าเนื้อกัน

มาเข้าใจวิธีคิดราคาต้นทุน ราคาขาย พร้อมกลยุทธ์การตั้งราคาขั้นต้น เพื่อไม่ให้ขายทุนกันดีกว่า

ไม่อยากเหนื่อยในการทำธุรกิจ ต้องเตรียมพร้อมเรื่องเหล่านี้ก่อน

ในบทความนี้จะพาไปรู้จักสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมในการทำธุรกิจ เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการทำธุรกิจขึ้นมา ซึ่งมาจากประสบการณ์จริงของผมเอง

การสร้างผลิตภัณฑ์ให้ Fit in Market

เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจตัวเองเติบโตขึ้นมาได้นั้น การหาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มันตอบโจทย์ทางธุรกิจให้ได้มันคือความสำคัญขึ้นมา ซึ่งในบทความนี้เราจะมาหาว่า เราจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่มัน fit in market ได้อย่างไรขึ้นมา 
- Advertisement -spot_img