อย่าเชื่อคนที่บอกเวลาที่เหมาะสมในการโพสคือเวลาใด จนกว่าจะได้ลองสิ่งนี้

-

หลาย ๆ คนคงได้เจอกับโพสที่เป็นกระแสในออนไลน์ทุก ๆ ไตรมาส หรือทุก ๆ ปี ที่จะมาบอกว่า เวลาในการโพสข้อความบน Social ต่าง ๆ นั้น เวลาไหนที่จะเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการโพสขึ้นมา และหลาย ๆ คนก็มักจะตื่นเต้นแล้วทำตามเลย เพราะเชื่อใน Guru คนที่บอกมา หรือเชื่อในหลักการหาข้อมูลของเว็บไซต์นั้น ๆ ที่หามาเผยแพร่ แต่พอทำออกไปแล้ว ทำไมไม่มีปฏิสัมพันธ์อย่างที่กูรูหรือเว็บไซต์นั้น ๆ บอกมา ทั้งนี้เพราะเวลาที่เว็บไซต์เหล่านั้นบอกนั้น ไม่ได้เหมาะกับตัวเพจหรือช่องทางของคุณจริง ๆ 

หลักการในการหาเวลาของโพสที่ออกมาเป็น เนื้อหาว่า เวลาที่โพสที่เหมาะสมนั้นคือเวลาไหน นั้นคือการเก็บข้อมูลจาก Social Media ต่าง ๆ เข้ามา แล้วมาหาค่าเฉลี่ย หรือดูว่าเวลาที่ส่วนใหญ่ที่คนเข้ามาปฏิสัมพันธ์ หรือเวลาที่แบรนด์ต่าง ๆ โพสในช่องทางตัวเอง แล้วมีการตอบสนองเยอะที่สุดออกมา ซึ่งเมื่อได้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดอออกมาแล้ว ก็จะมานำเสนอว่า นี้คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโพสลงช่องทางต่าง ๆ กันออกไป 

ดูเผิน ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร สามารถทำตามตั้งเวลาโพส หรือแค่โพสเวลานั้นได้เลย แต่สุดท้ายทำไปแล้วอาจจะไม่ได้ผลที่ดีที่สุดออกมา หรือแย่ไปกว่านั้น อาจจะแย่ไปเลย เพราะการที่ทุก ๆ คนโพสเวลาเหมือน ๆ กันจากการที่ทำตามเว็บต่าง ๆ หรือกูรูต่าง ๆ ที่เอามาบอกนั้น ไม่ต่างอะไรจากการที่เดินเข้าไปในตลาด และทุก ๆ ร้านตะโกนเชิญชวนเหมือน ๆ กันหมด ทำให้ผู้บริโภคมีความยากที่จะเลือกว่าจะเอา Content ไหน เพราะทุก ๆ คนโพสในเวลาเดียวกัน และแบรนด์เองก็ยากเช่นกัน เพราะทุก ๆ แบรนด์ก็โพสเวลาเดียวกันหมด ทำให้ทุกคนต้องแย่งความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามา ซึ่งมีความสนใจที่จำกัดอยู่แล้ว แถมโพสเหล่านั้นคือค่าเฉลี่ยของคนทั้งโลก ไม่ใช่เวลาของผู้บริโภคในตลาดไทยอีกตั้งหาก

นอกจากนี้จากที่โพสเวลาเดียวกันทุก ๆ แบรนด์ ไม่ได้หมายความว่า ทุกแบรนด์จะเหมาะสมในการโพสในเวลานั้นขึ้นมา เพราะกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง อาจจะมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนกับค่าเฉลี่ยทั่วไปก็ได้ เช่น ร้านค้าขายของออนไลน์ การโพสเวลา 10.00 กับ 17.00 ตามค่าเฉลี่ย อาจจะไม่ได้ผล หรือได้ผลน้อยกว่าการโพสในเวลาที่ถูกต้อง ที่คนจะเริ่มมองหาของและซื้อของกันในเวลากลางคืน ดังนั้นการโพสในเวลาที่เหมาะสมนั้น ๆ ขึ้นอยู่กับเพจของตัวเองมากกว่า หรือกลุ่มของเป้าหมายของตัวเอง ว่าชอบมาปฏิสัมพันธ์ในเวลาไหนกัน ซึ่งคนทำการตลาดสามารถทำการหาค่าเหล่านี้ได้ ผ่านการใช้เครื่องมือ Social Monitoring ต่าง ๆ โดยในโพสนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการหาเวลาที่เหมาะสมที่สุดของการโพสของแบรนด์ตัวเอง ขึ้นมา 

เริ่มจากการใช้ emplifi.io (อดีต Socialbakers) ลองเข้าไปใช้ใน Free Trial ดู ได้ โดยเข้าไปเริ่มจากว่า เราจะใช้ในนามแบบไหน ธุรกิจและองค์กร หรือในนามบุคคลและการศึกษา เมื่อเลือกได้แล้ว สิ่งต่อไปที่ระบบจะให้เลือกก็คือ จะเลือกว่าสนใจในธุรกิจ แบบไหกน หรือ หมวด Social Media อะไร อย่างในตัวอย่างก็คือเลือกมาเลยว่าจะเป็น  Beauty/Fashion ซึ่งพอกดไป ในตัวอย่าง Free Trial จะมีตัวอย่างให้ลองคือแบรนด์ Shishedo ประเทศไทยกับ L’Oreal ประเทศไทย โดย Channel เป็น Facebook  

จากตัวอย่างแบรนด์ที่ให้เลือกมา ก็กดเลือกแบรนด์ทั้งคู่มาเปรียบเทียบกัน ซึ่งจะมีการเปรียบเทียบค่าหลาย ๆ ค่าออกมา ทำให้เห็นว่า Account ทั้งคู่ใครทำดีกว่า หรือใครทำแย่กว่าใคร ในสิ่งที่เรากำลังสนใจคือ ค่าเวลาที่ User Engagement ทั้ง 2 เพจออกมา ว่า เวลาไหนที่ user ชอบมาปฏิสัมพันธ์มากที่สุดออกมา จากในตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าจะมีช่วงเวลาเฉลี่ยในแต่ละวัน และลงลึกในรายชั่วโมงว่า คนชอบมาปฏิสัมพันธ์กับโพสต่าง ๆ เวลาไหน ซึ่งนี้เองจะทำให้เราได้ค่า ที่เหมาะสมในการโพสที่แม่นยำมาก เพราะได้ค่ามาว่า แต่ละวันควรโพสเวลาไหน มากกว่าจะโพสเวลาไหนทั้งปี ในตัวอย่างจะเห็นได้ว่า วันจันทร์นั้นควรโพสในเวลา 8.00 หรือ 11.00 หรือวันอังคารเป็นเวลาตี 3 หรือ 7 โมงเช้า หรืออีกตัวอย่างคือ วันอาทิตย์ที่ควรโพสเวลา 16.00 

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เวลาโพสที่เหมาะสมในกลุ่มธุรกิจความสวยความงาม แฟชั่นที่มีตัวอย่างเป็น Shishedo ประเทศไทยกับ L’Oreal ประเทศไทย นั้นไม่ได้ตรงกับค่าเฉลี่ยต่าง ๆ ที่ได้ออกมาบอกไว้เลย ซึ่งหลักการนี้สามารถเอามาใช้ได้ ในการที่จะหาว่าเวลาที่เราจะโพส เพื่อแย่งความสนใจจากคู่แข่งคือเวลาไหน โดยการเปลี่ยน Account ที่สนใจ เป็น Account ของคู่แข่งแทน หรือจะเปลี่ยนเป็นในหมวดธุรกิจเดียวกันที่มีตัวแบรนด์ของเราเองด้วย เวลาที่คนจะสนใจจะเป็นเวลาไหน ก็สามารถเปลี่ยนได้เช่นกัน หรือสุดท้ายจะขยายตัวธุรกิจ เข้าไปในกลุ่มตลาดอื่น ๆ ก็สามารถทำได้แบบเดียวกัน ซึ่งด้วยการทำวิธีนี้ จะสามารถทำให้ได้เวลาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ หรือหมวดธุรกิจเรา มากกว่า การทำตามจากค่าเฉลี่ยของสังคมไป 

การทำการตลาดที่ดี ไม่ใช่การทำตาม ๆ กัน โดยเชื่อแบบไม่มีเหตุผล แต่เป็นการคิดขึ้นจากเป้าหมายของแบรนด์ กลุ่มเป้าหมายของตัวเองว่า มีลักษณะ และพฤติกรรมต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร เพราะแท้จริงแล้ว แต่ละแบรนด์นั้น กลุ่มเป้าหมายที่มาชอบแบรนด์อาจจะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกับแบรนด์อื่นเลยก็ได้ 

Share this article

Recent posts

Popular categories

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Recent comments