เมื่อเราสร้างแบรนด์ Personality, Brand Archetype ไปแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงขั้นสร้างตัวของแบรนด์ที่จะทำให้คนรับรู้ว่า แบรนด์คือของคุณมีอัตลักษณ์เป็นแบบไหน หรือที่เรียกว่า Brand Identity นั้นเอง และสิ่งที่จะทำให้แบรนด์ทำให้คนเข้าหา หรือทำให้คนมาสนใจมากที่สุดก็คือ การที่แบรนด์นั้นสามารถสร้าง Brand Identity ที่แสดงออกมา ให้ตรงกับความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายนั้นจะรับรู้ หรือสามารถทำให้อัตลักษณ์ที่แสดออกไปนั้นตรงกับภาพลักษณ์ที่กลุ่มเป้าหมายเห็นได้ทันทีนั้นเอง ซึ่งการที่มี Brand Identity ที่ดีนั้น ประกอบด้วยหลาย ๆ ส่วนด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
- การสื่อสารของแบรนด์
- Logo/Image ของแบรนด์
- พฤติกรรมของแบรนด์ในการแสดงออกมา
- การออกแบบสินค้าและบริการของแบรนด์
- วัฒนธรรมองค์กรของแบรนด์
- วิศัยทัศน์ของแบรนด์
- ภารกิจของแบรนด์
- ภาษาที่แบรนด์ใช้
- เรื่องราวของแบรนด์
- สัมผัสของแบรนด์
ซึ่งนี้เป็นสิ่งที่ใครกำลังจะสร้างแบรนด์ขึ้นมาต้องกำหนดว่า แบรนด์ตัวเองจะมี Brand Identity อย่างไรขึ้นมาจากองค์ประกอบเหล่านี้ และเอาองค์ประกอบเหล่านี้มากำหนดใส่ใน 4 ส่วนของ Brand Identity ที่ต้องมี ได้แก่
1. Brand Personality ที่เป็นบุคลิกลักษณะของแบรนด์มาจากการที่สร้าง Brand Archetype จนมากำหนด สัมผัสของแบรนด์ พฤติกรรมของแบรนด์ในการแสดงออกมา วิศัยทัศน์ของแบรนด์ ภารกิจของแบรนด์
2. Expressive Fundamentals ที่เป็นส่วนการแสดงออกของแบรนด์ออกมา ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารของแบรนด์ Logo/Image ของแบรนด์ พฤติกรรมของแบรนด์ในการแสดงออกมา การออกแบบสินค้าและบริการของแบรนด์
3. Brand Assets คือสิ่งที่เป็นทรัพย์สินของแบรนด์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสออกมา ไม่ว่าจะเป็น เรื่องราวของแบรนด์ Logo/Image ของแบรนด์พฤติกรรมของแบรนด์ในการแสดงออกมา การออกแบบสินค้าและบริการของแบรนด์
4. Brand Guideline คือข้อกำหนดในการใช้งานของแบรนด์ที่ทุกคนต้องทำตาม เพราะจะทำให้เกิดความต่อเนื่อง ความมั่นคงในการสื่อสารแบรนด์ ซึ่งนี้คือ วัฒนธรรมองค์กรของแบรนด์
ด้วยองค์ประกอบ 4 อย่างของแบรนด์ Identity เราสามารถใช้อีกวิธีหนึ่งในการสร้างแบรนด์ก็ได้ ด้วยการใช้ Brand Identity Prism นั้นเอง
Brand Identity Prism พัฒนาโดย Jean-Noel Kapferer ที่สร้างไดอาแกรม ที่แบ่งเป็น 6 ด้านขึ้นมา โดยให้คนที่ทำแบรนด์นั้นเติมเติมช่องว่างที่ตอบคำถามเข้าไป ทั้ง 6 ด้านจะแบ่งเป็น 2 ด้านที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ 2 ด้านที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย และ 2 ด้านสุดท้ายที่เป็นเรื่องราวคุณค่าของแบรนด์ทั้งภายในและภายนอกที่ออกมา
โดย 6 ด้านนั้นประกอบด้วย
1. Physique คือ กายภาพของแบรนด์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น logo, colours, fonts หรือ shapes. รวมถึงสไตล์ กับ iconography ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการจดจำว่าคือแบรนด์ไหนได้
2. Personality คือบุคลิกลักษณะของแบรนด์ที่รวมเรื่อง Tone, บุคลิก นิสัยใจคอของแบรนด์ และกา่รแสดงออกมา ซึ่งเป็นส่วนที่แบรนด์จะใช้ในการสื่อสารกับโลกภายนอกนั้นเอง
3. Culture คือเรื่องราวของวัฒนธรรมองค์กร ที่ทำให้แบรนด์มีวัฒนธรรมที่จะแสดงออกมาในบุคลิกภาพของแบรนด์นั้น ๆ เป็นคุณค่าขององค์กรภายใน
4. Relationship คือความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย เป็นสิ่งที่ต้องตอบความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมายนอกจาก สินค้าและบริการออกไป
5. Reflection คือภาพของกลุ่มเป้าหมายที่อยากจะได้เป็นลูกค้าของแบรนด์ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า Buyer Persona ซึ่งในจุดนี้บริษัทจะมีหลาย Target ได้ แต่ในการสร้างแบรนด์ ควรมุ่งโฟกัสไปที่กลุ่มเป้าหมายหลักแบบเดียว
6. Self-image คือ เป็นการมองตัวเองของกลุ่มเป้าหมาย ว่ามองตัวเองเป็นอย่างไร หรือมองอุดมคติที่ตัวเองเป็นอย่างไร และแบรนด์ควรทำการสื่อสารเพื่อเจาะจงอุดมคติของกลุ่มเป้าหมายของตัวเองขึ้นมา
การทำ Brand Identity นั้นเป็นเรื่องสำคัญในทุกยุค ทุกสมัย เพราะการทำ Brand Identity ที่ถูกต้องจะสามารถทำให้การสื่อสารนั้นไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างการจดจำ การเข้าหาได้อย่างดี ขึ้นมา และทำให้แบรนด์นั้นประสบความสำเร็จในระยะยาวอีกด้วย